ขายอาหารเสริม ราคาส่ง ขายถูกที่สุด ไม่คิดค่าส่ง

ความเชื่อและความจริง เกี่ยวกับน้ำ

ความเชื่อ เกี่ยวกับน้ำ

อย่างที่ทราบกันดีว่าน้ำมีบทบาทสำคัญแทบจะทุกกระบวนการชีวภาพในร่างกาย  นับตั้งแต่ช่วยควบคุมอุณหภูมิ  รักษาสภาพความดันในร่างกายไปจนถึงลำเลียงของเสียออกจากร่างกาย  ประโยชน์ของมันมหาศาลแต่ดูเหมือนเราจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญของน้ำสักเท่าไร  คือเราอาจจะรู้ว่าน้ำเป็นสิ่งจำเป็นแต่เรารู้มากน้อยแค่ไหนว่าต้องดื่มน้ำอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์แท้จริง  เพราะสิ่งที่เราคิดว่ารู้  มันอาจจะไม่ใช่ก็ได้  ดังจะเห็นได้ตามตัวอย่างต่อไปนี้

            ความเชื่อ  :  ภาวะร่างกายขาดน้ำเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยพบเห็น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำติดต่อกันหลายวัน

            ความจริง :  การสูญเสียน้ำมีหลายระดับ ไม่จำเป็นต้องหลงอยู่กลางทะเลทรายหรือหลงป่าจนปากคอแห้งผาก  การใช้ชีวิตประจำวันก็ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้เช่นกัน  ปัญหาที่พบบ่อยคือการขาดน้ำในระดับที่ไม่รุนแรงแต่เกิดขึ้นเป็นประจำสาเหตุเกิดจากความเคยชินหรือพฤติกรรมในการกินดื่ม เช่น หลายคนไม่ชอบดื่มน้ำ  เพราะขี้เกียจเข้าห้องน้ำบ่อย  หรือดื่มน้ำแต่น้อยกว่าที่ร่างกายแน่นอน เช่นระบบย่อยอาหาร เนื่องจากร่างกายต้องการน้ำเพื่อใช้ในการสร้างน้ำย่อย  หากเราดื่มน้ำไม่มากพอ  ร่างกายสร้างน้ำย่อยได้น้อย ระบบการย่อยอาหารก็จะด้อยประสิทธิภาพลง

            ความเชื่อ :ร่างกายต้องการน้ำวันละ  8  แก้ว เท่านั้น (หากคำนวณจากแก้ปริมาณ  250 มิลลิลิตร  ก็ตกวันละ 2 ลิตร)

            ความจริง :มาตรฐาน  8  แก้วต่อวันใช้ไม่ได้ เพราะความต้องการน้ำในแต่ละวันหรือของแต่ละคนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตประจำวัน ถ้าเป็นคนออกกำลังกายหรือทำงานที่ใช้แรงงาน ร่างกายสูญเสียเหงื่อมาก ย่อมต้องการน้ำมากกว่าปกติพฤติกรรมการกินก็ส่งผลต่อน้ำในร่างกายเช่นกัน  อาหารบางอย่างก็ทำให้น้ำในร่างกายเราพร่องลงได้เยอะ  เช่น  อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ตลอดกระบวนการย่อยต้องใช้น้ำมากกว่าปกติในการย่อย  ดูดซึม  และขับของเสียส่วนเกินออก  รวมไปถึงอาหารแปรรูปที่มีเกลือสูง  และขนมกรุบกรอบที่รับประทานแล้วเหมือนมีฟองน้ำเข้าไปดูดซับน้ำในร่างกาย  ตามหลักแล้วเราควรบริโภคเกลือวันละประมาณ  3-5 กรัม  แต่ส่วนใหญ่จะรับเกลือเข้าร่างกาย  12-15  กรัม หรือมากกว่านี้  ส่วนทีเกินมา  ร่างกายจำเป็นต้องใช้น้ำปริมาณเยอะในการขจัด ดังนั้น  สูตรสำเร็จในการดื่มน้ำ  8  แก้ว ต่อวันจึงใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้  ต้องดูด้วยว่าเรามีพฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงต่อการขาดน้ำหรือไม่

            ความเชื่อ :  ในสภาวะที่ร่างกายต้องการน้ำ  เครื่องดื่มทุกชนิดดับกระหายและทดแทนได้เหมือนๆ กัน

            ความจริง : น้ำเปล่า  น้ำอัดลม  น้ำหวาน  น้ำผลไม้  ชา  กาแฟ  และแอลกอฮอล์ของเหลวเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกันแน่นอน  เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน  เช่น  ชา  กาแฟ  อาจเป็นตัวเร่งให้ร่างกายสูญเสียน้ำเพราะกาเฟอีนมีคุณสมบัติในการขับปัสสาวะขณะที่เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงทำให้เลือดมีความเป็นกรด  ส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นในการกำจัดกรดส่วนเกินออกไป  ส่วนน้ำอัดลมหรือน้ำหวานที่ใช้สารหวานแทนน้ำตาล รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ต่าง ๆ เหล่านี้จะมาพร้อมกับสารเคมีบางชนิดที่ร่างกายไม่ต้องการ ในการขจัดสารเหล่านี้ ร่างกายต้องใช้น้ำจำนวนไม่น้อยเคยเจอกรณีบางคนดื่มแต่น้ำอัดลมและน้ำหวานโดยไม่แตะน้ำเปล่าเลย คือมันอาจจะลดความกระหายได้ก็จริง แต่ถ้าดื่มทุกวัน  วันละเป็นลิตร ร่างกายขับพิษออกไม่ทัน ก็เท่ากับเราค่อย ๆ สะสมพิษในร่างกาย จนถึงจุดหนึ่งร่างกายรับไม่ไหวก็ล้มป่วยลง  น้ำพวกนี้  ถ้านึกอยากดื่มก็ดื่มได้ แต่อย่าให้ติดเป็นนิสัย ยังไงเสียน้ำเปล่าก็ยังเป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุด

            ความเชื่อ  :  สัญญาณเดียวที่บ่งชี้ว่าร่างกายสูญเสียน้ำและกำลังต้องการน้ำคือการกระหายน้ำ

            ความจริง  :  อาการกระหายน้ำเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าร่างกายกำลังต้องการน้ำ  ณ  จุดนั้น เราสามารถดื่มน้ำเข้าไปชดเชยได้ทันที  แต่ถึงสมองไม่สั่งการให้กระหายน้ำก็ไม่ได้แปลว่าเราได้รับน้ำเพียงพอ มีหลายกรณีมากที่เราละเลยการดื่มน้ำเพราะไม่รู้สึกหิวน้ำ เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำ อาจจะไม่รุนแรงแต่เรื้อรังถามว่าเรายังใช้ชีวิตต่อไปได้มั้ย ก็ได้นะ  แต่มันก็จะส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะภายใน สัญญาณที่ชี้บอกว่าเราอาจดื่มน้ำไม่มากพอก็เช่น  นัยน์ตาแห้ง  ผิวแห้ง  ริมฝีปากแห้งแตกลอกเป็นขุย  มึนศีรษะ  อ่อนเพลีย  ปัสสาวะไม่บ่อย  (น้อยกว่า  3-4  ครั้งต่อวัน) ปัสสาวะมีสีเข้ม เป็นต้น นอกจากนั้น หากมีการทดสอบทางแล็บยังจะพบอีกว่าเลือดมีความข้นหนืดขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้หิวน้ำแล้วค่อยดื่ม ติดกระบอกน้ำหรือแก้วน้ำไว้ใกล้ตัวแล้วจิบบ่อยๆ โดยเฉพาะวันที่อากาศร้อนจัด ช่วงที่ออกกำลังกาย หรือยามที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบินเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการน้ำมากกว่าปกติ

            ความเชื่อ :  ดื่มน้ำมากเกินไปจะทำให้ร่างกายบวมน้ำ

            ความจริง :อาการบวมน้ำไม่ได้เกิดจากสาเหตุของการดื่มน้ำมากเกินไปแต่เกิดจาปัจจัยอื่น เช่น เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความไม่สมดุลของฮอร์โมนและเคมีบางชนิดในร่างกาย ปัญหาอันเกี่ยวกับหัวใจ ภาวะพิษสะสม และที่น่าสนใจคือการที่ร่างกายสูญเสียน้ำก็ทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้เช่นกัน  โดยมีคำอบายดังนี้  เวลาที่เราดื่มน้ำไม่มากพอกับความต้องการของร่างกาย  ไตก็จะกัดน้ำเอาไว้เพื่อชดเชยน้ำส่วนที่ขาดหายไป  ซึ่งลักษณะบวมน้ำแบบนี้จะมาพร้อมอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง  และสามารถแก้ไขได้โดยการดื่มน้ำเยอะ ๆ ไม่ว่าอย่างไรการดื่มน้ำเยอะก็ดีกว่าการดื่มน้ำน้อยอยู่แล้ว แต่หากมีอาการบวมน้ำบ่อยๆ ทั้งที่เป็นคนสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงละก็  ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งส่วนใหญ่มักพบว่าเกิดจากแรงแพ้อาหารบางชนิด

            ความเชื่อ  :  ดื่มน้ำมากไปเป็นอันตรายต่อร่างกาย

            ความจริง  จริงบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมดถ้าเราดื่มน้ำวันละ  3-4 ลิตร (ซึ่งก็ถือว่าเยอะ)  ร่างกายจะขับน้ำส่วนเกินหรือส่วนที่ไม่ต้องการออกมาเองโดยการปัสสาวะบ่อย แต่ถ้าเราดื่มน้ำแบบบ้าคลั่งมากกว่า  12 ลิตร ในระยะเวลาไม่ถึง  24  ชั่วดมงอันนี้มีปัญหาแน่เพราะปริมาณน้ำมหาศาลจะทำให้โซเดียมในร่างกายเจือจางและส่งผลกระทบต่อแรงดันของเลือด ภาระโซเดียมต่ำเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก  แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับนักกีฬาหรือนักวิ่งมาราธอนที่สูญเสียเหงื่อเยอะหรือคนที่มีอาการท้องเสียอย่างหนัก ร่างกายเสียน้ำจำนวนมากพร้อมๆ กับแร่ธาตุในร่างกาย กรณีแบบนี้จึงควรต้องดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชย

 

            บทสรุปคือการดื่มน้ำมีผลต่อสุขภาพจริงแท้แน่นอน พยายามยึดหลัก  Out = In คือร่างกายสูญเสียน้ำไปเท่าไร ให้ดื่มในปริมาณเท่าๆ กันเพื่อชดเชย ในแต่ละวันร่างกายสูญเสียน้ำประมาณ 2-2.5 ลิตร ไปกับปัสสาวะมากสุด รองลงมาคือเหงื่อลมหายใจออก  และอุจจาระ ปริมาณน้ำที่ควรดื่มบวกลบก็ประมาณ  3  ลิตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสนิเองแต่เดินทางสายกลางนั่นแหละดีที่สุด


We  may  find  in  the  long  run  that  tinned  food  is  a  deadlier  weapon  than  the  machine-gun.

 

George  Orwell

ในระยะยาวเราพบว่าอาหารกระป๋องเป็นอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงกว่าปืนกลเสียอีก

 

จอร์จ   ออร์เวลล์

 

 

credit หนังสือ THE FIRST WEALTH IS HEALTH กินดีอยู่ดี  

ผู้เขียน วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์ ผู้ให้สาระ และ ความรู้ที่น่าสนใจ