ขายอาหารเสริม ราคาส่ง ขายถูกที่สุด ไม่คิดค่าส่ง

สารต้าน อนุมูลอิสระ คืออะไร

รูป สารต้านอนุมูลอิสระ

            ตั้งแต่กระแสรักสุขภาพมาแรงเรามักได้ยินคำว่า “แอนติออกซิแดนท์” หรือ “สารต้านอนุมูลอิสระ” อยู่บ่อย ๆ เชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้ชัดเจนว่าเจ้าสารต้านอนุมูลอิสระที่ว่านี้คืออะไร รู้แต่ว่ามันมีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารอะไรที่ว่ากันว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงถูกแนะนำว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ก่อนที่จะเฉลยว่าสารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร ผู้เขียนขอเท้าความไปถึงกลไกลการทำงานของร่างกายกันสักนิดก่อน

 

            ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายมาจากกระบวนการที่เรียกว่า “ออกซิเดชั่น” ออกซิเดชั่นคือกระบวนการที่ร่างกายใช้ออกซิเจนเข้าไปเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานเพื่อให้เซลล์ต่าง ๆ นำพลังงานนั้นไปใช้ กระบวนการนี้จะก่อให้เกิด By-Product หรือผลพลอยได้ซึ่งก็คือ “อนุมูลอิสระ” ที่จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลต่าง ๆ ในร่างกายและก่อความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อและเอนไซม์อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่กระบวนการออกซิเดชั่นอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ปัจจัยอื่น เช่น มลพิษ มลภาวะต่าง ๆ ยาฆ่าแมลง สารเคมี อาหารขยะ และความเครียด ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้เช่นกัน

 

            สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่เราได้จากพืชผักผลไม้เมื่อรับประทานเข้าไปจะมีส่วนช่วยยับยั้งกระบวนการออกซิเดชั่นในร่างกาย และปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำลาย จึงทำให้ป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ สรุปคุณประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระมีดังต่อไปนี้

 

·     เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีฤทธิ์ต้านหวัด ไวรัส และการติดเชื้อในร่างกาย

 

·     ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

 

·     ป้องกันโรคเกี่ยวกับตา เช่น ต้อ และโรคจอประสาทตาเสื่อม

 

·     ลดกระบวนการออกซิเดชั่นไขมันซึ่งจะทำให้ไขมันหนืดข้นขึ้นจนเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันอุดตันเส้นเลือด จึงเป็นที่มาของการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ

 

·     ถนอมอายุเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

 

แหล่งที่มาของสารต้านอนุมูลอิสระได้แก่ อาหารที่มาจากธรรมชาติ และไม่ผ่านการปรุ่งแต่งมากนัก เช่น ผักและผลไม้สด ผักใบเขียว ผักที่มีสีสัน น้ำผักผสมหรือไม่ผสมผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น เมล็ดถั่วต่าง ๆ สารต้านอนุมูลอิสระที่เด่น ๆ ประกอบด้วย เบต้าแคโรทีน ไลโคพีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเอ วิตามินบี เซเลเนียม และสังกะสี สารต้านอนุมูลอิสระแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและแหล่งที่มาแตกต่างกันไป มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

 

·     วิตามินเอ : เป็นวิตามินละลายในไขมัน สำคัญต่อการสร้างกระดูก บำรุงสายตาและช่วยเรื่องระบบการทำงานของลำไส้ ระบบภูมิคุ้มกันและบำรุงผิวพรรณ อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอ ได้แก่ แครอท แอพริคอท ส้ม มะม่วง ฝรั่ง มะละกอ มันเทศ นม ไข่แดง และโยเกิร์ต

 

·     วิตามินซี : เป็นวิตามินละลายในน้ำ ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระภายในเซลล์ซึ่งมีน้ำอยู่เยอะ วิตามินซีทำงานประสานกับวิตามินอีในการปกป้องเซลล์ อาหารที่มีวิตามินซีสูง คือ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มและมะนาว พริกเขียว บร็อคโคลี ผักใบเขียว สตรอเบอร์รี่ และมะเขือเทศ

 

·     วิตามินอี : ทำหน้าที่ปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์จากการถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระโครงสร้างหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ คือ กรดไขมัน วิตามินอีซึ่งเป็นวิตามินละลายในไขมันจึงช่วยลดกระบวนการออกซิเดชั่นในไขมันเลว (LDL) อีกด้วย อาหารที่มี

วิตามินอีมากมาย ปรกอบด้วยเมล็ดถั่ว เมล็ดพืช ธัญพืช ผักใบเขียว น้ำมันพืช และน้ำมันตับปลา

 

·     ซิลีเนียม : เป็นแร่ธาตุที่มีส่วนช่วยสร้างเอนไซม์ต้านสารอนุมูลอิสระหลายเอนไซม์ อาหารที่มีธาตุซีลีเนียมสูงได้แก่ ปลา หอย เนื้อแดง ไข่ ไก่ กระเทียม ธัญพืช

 

·     เบต้าแคโรทีน : มือปราบอนุมูลอิสระ พบมากในแครอท พริกเขียว พริกแดง บร็อคโคลี มันเทศ มะม่วง และผักผลไม้หลายชนิด

·     ไลโคพีน : ปกป้องเม็ดเลือดขาวไม่ให้ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งมดลูก ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ เมื่อทำงานร่วมกับเบต้าแคโรทีน จะช่วยปกป้องผิวหนังจากรังสียูวี อาหารที่มีไลโคพีนสูงได้แก่ มะเขือเทศ ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ  แตงโม เกรปฟรุตสีชมพู

 

·     ลูทีน : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยทำนุบำรุงดวงตาและยับยั้งการเกิดต้อหินกระจก รวมถึงจอประสาทตาเสื่อม พบมากในผักใบเขียว เช่น บร็อคโคลี ผักโขม และกีวี

 

Did you know

 

ทำอย่างไรถึงจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารมากขึ้นในแต่ละวัน วิธีการก็ไม่ยาก แค่ใช้ความชาญฉลาดในการเลือกบริโภค ยกตัวอย่างเช่น

·     รับประทานผักสดให้หลากหลายและมากพอ ดัดแปลงเป็นเมนูต่าง ๆ เช่น สลัดผัก ปอเปี๊ยะสด หรือเมนูที่มีผักเป็นเครื่องเคียงเยอะ ๆ เช่น น้ำพริก เป็นต้น

 

·     เลือกรับประทานข้าวกล้องหรือธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย เช่น ถั่วเมล็ดทุกชนิด งา ข้าโอ๊ตเพราะมีแร่ธาตุและวิตามินสูง

 

·     ในแต่ละมื้ออาหารควรมีผักผลไม้ปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารทั้งหมดที่รับประทาน และพกพาผลไม้เป็นอาหารว่างเมื่อต้องการคลายหิว

 

·     เลือกรับประทานผลไม้ทั้งผลดีกว่าคั้นเป็นน้ำจะได้วิตามินและเกลือแร่ครบครันกว่า

 

·     เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้สลัดผัก โยเกิร์ต หรือซีเรียลด้วยการโรยถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วลิสง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว (หรือถั่วสัญชาตินอก เช่น อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย วอลนัท บราซิลนัท) ลงไปด้วย ประโยชน์ของถั่วคือเป็นโปรตีนไขมันต่ำ มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระสูง

 

 

วิถีชีวิตยุคใหม่ ทำให้เราต้องเผชิญกับมลพิษและปัจจัยที่บั่นทอนสุขภาพ ถ้ารู้จักนำอาหารที่เป็นประโยชน์เข้าร่างกาย แม้ไม่ทำให้ปลอดปัญหาร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยก็ไม่เพิ่มโรคภัยไข้เจ็บให้ตัวเอง สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องพึงสังวรดังคำกล่าวที่ว่า You are what you eat กินดีได้ดี กินแย่ ๆ ระวังโรคภัยจะถามหา